ขณะเดียวกันญี่ปุ่นยังได้สอบถามถึงความคืบหน้าการพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจ พิเศษทวาย และพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือในระดับรัฐบาลของไทยกับเมียนมาร์ โดยการเข้ามาร่วมของญี่ปุ่นนั้น ไทยก็พร้อมที่จะสนับสนุน แต่ก็ต้องหารือกับรัฐบาลเมียนมาร์ก่อนว่า จะร่วมมือในแนวทางอย่างไรบ้าง ขณะเดียวกันในเรื่องของการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งประเทศญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญนั้น ล่าสุดยังไม่ได้หารือถึงเรื่องดังกล่าว “บริษัทของประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากแก้ไขสิ่งต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาตั้งเฮดควอเตอร์ได้ จะเกิดประโยชน์อย่างมาก เพราะหากมาตั้งที่ไทยแล้ว บริษัทเหล่านั้นจะคุมบริษัทลูกที่ตั้งอยู่ในประเทศข้างเคียงได้หมด ซึ่งการจัดตั้งเฮดควอเตอร์ตอนนี้ ในประเทศไทยยังไม่มี เพราะมีกฎเกณฑ์มาก ทั้งเรื่องภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี จึงต้องแก้ไขให้ใกล้เคียงกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง ที่สนับสนุนเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว โดยหากแก้ให้ได้เสร็จสิ้น จะทำให้เกิดกิจกรรมทางการค้ามีกำไรเพิ่มมากขึ้นม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายชิเกะคะสุ ซะโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยญี่ปุ่นแสดงความสนใจเกี่ยวนโยบายของรัฐบาลที่จะสนับสนุนให้นักลงทุนต่าง ชาติ เข้ามาจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการระดับภูมิภาค (อินเตอร์เนชั่นแนล เฮดควอเตอร์) ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค ซึ่งล่าสุดอยู่ระหว่างการพิจารณาแก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อนักลงทุน ทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษี และที่ไม่เกี่ยวกับภาษี คาดว่า จะแก้ไขได้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์นี้ ก่อนเสนอที่ประชุมครม. พิจารณาเห็นชอบ
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
Source: ปุ่นหนุนไทยตั้งเฮดควอเตอร์