ส่วนข้อเรียกร้องเคลื่อนไหวกดดันให้ยกเลิกประกาศ คสช.ฉบับที่ 97 และฉบับที่ 103 ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายเทพชัย กล่าวว่า ขณะนี้สังคมยังมีความหวาดระแวงอยู่ ดังนั้น คสช.จะต้องพิจารณาประกาศฉบับดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่พร้อมจะช่วยการปฏิรูปให้เดินหน้าไปได้ สำหรับกรณี พลเอกอุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก จะเชิญสื่อมวลชนหารือ เพื่อขอความร่วมมือนั้นพร้อมยินดีให้ความร่วมมือ ถ้าเป็นเวทีการทำความเข้าใจ หรือ แลกเปลี่ยนความเห็น แต่จะต้องเป็นการพูดคุยบนพื้นฐานความเข้าใจไม่ทำให้เกิดการตีความว่า แทรกแซงสื่อมวลชนด้าน นายเทพชัย หย่อง ประธานคณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมวันนี้ เห็นควรให้มีมาตราส่งเสริมปกป้องเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความเห็นและสื่อ มวลชนควรได้รับการคุ้มครอง ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเนื้อหาจะไม่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 และปี2550 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือ กรณีสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถูกนายทหารกลุ่มหนึ่งกดดันให้เปลี่ยนตัวผู้ดำเนินรายการ “เสียงประชาชนต้องฟังก่อนปฏิรูป” ด้วยความห่วงใย โดยเห็นว่า เป็นการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายคุกคามสื่อมวลชน แม้จะมีการส่งนายทหารเข้าพบสื่อมวลชนและใช้ภาษาสุภาพ แต่วิธีสื่อสารและเนื้อหาที่พูดคุย ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการปฏิรูป จึงอยากเห็นความชัดเจนจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควรสื่อสารกับสังคมเพื่อส่งสัญญาณไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาให้ชัดเจนว่าถึงจุด ยืนของพลเอกประยุทธ์ว่า กรณีดังกล่าวไม่ควรมีการปิดกั้นสื่อมวลชน และไม่ควรให้เกิดเหตุการณ์ที่มีนายทหารไปอ้างคำสั่งว่า ผู้บังคับบัญชาสั่งการ เพราะไม่ทราบว่า กรณีดังกล่าวเป็นการอ้างคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จริงหรือไม่ อีกทั้ง อยากเห็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ผลักดันให้การปฏิรูปเกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด การประชุมวันนี้เป็นการแสดงความห่วงใยเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นออกแถลงการณ์ แต่จะสื่อไปทางรัฐบาล คสช.ให้เห็นว่า สื่อมวลชนมีส่วนสร้างบรรยากาศการปฏิรูป นอกจากนี้ เสรีภาพของสังคมก็มีส่วนสำคัญ ที่จะต้องแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิรูปได้เนื่องจากเห็นว่า มาตราดังกล่าวไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง ตรวจสอบได้ยาก ทำให้เกิดผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนจำนวน มาก ดังนั้น จึงควรตัดออกจากหมวดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเห็นว่า ไปใส่กฎหมายว่าการพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง ส.ส. และส.ว.แทน เปิดช่องให้พรรคการเมือง หรือนักการเมือง สามารถเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนในกิจการพรรคเมืองได้ โดยให้ถือว่า ค่าใช้จ่ายในกิจการสื่อมวลชนของพรรคการเมือง หรือนักการเมืองนั้น เป็นค่าใช้ของพรรคการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และส.ว.เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ ได้มีการประชุมคณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรูป (คสป.) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อมวลชน ครั้งที่ 2 โดยมี นายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมวิทยุและโทรทัศน์ไทย เป็นประธาน เพื่อการหารือถึงข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อเตรียมยกร่างรัฐธรรมนูญในกรอบเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและ สื่อมวลชน ซึ่งมีในที่ประชุมได้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้าง ทั้งนี้เสียงส่วนใหญ่เสนอให้ยึดโครงสร้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในมาตรา 45 ,46 นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น ให้มีการตัดหรือยกเลิก มาตร 48 ที่บัญญัติว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือ พิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม มิได้ ไม่ว่าในนามตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน
แหล่งที่มา : ไทยรัฐ