ขณะที่นายสมเกียรติ ประจำวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กล่าวว่า กรณีอธิบดีกรมอุทยานฯทำหนังสือว่าไม่ควรสร้างเขื่อนแม่วงก์ เป็นธรรมดาที่เจ้าของพื้นที่ต้องรักษาสิทธิพื้นที่ในความรับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม กรม ชลประทานต้องนำข้อเท็จจริงมาดูว่า ประเด็นของ กรมอุทยานฯนั้นจริงหรือไม่ เพราะประเด็นที่ถกเถียงกันคือ งานวิจัยเรื่องมูลค่าไม้ในป่า ตรงนี้ที่หาข้อสรุประหว่าง 3 ฝ่าย คือ กรมชลประทาน กรมอุทยานฯ และ สผ. ไม่ได้ จะต้องหาหน่วยงานกลาง หรือผู้เป็น กลางที่มีความรู้ มาศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมให้ได้ข้อสรุป ก็คงต้องบอกให้ได้ว่า ที่ว่ารายงานอีเอชไอเอ ของกรมชลประทาน ไม่สมบูรณ์นั้นเป็นอย่างไร
“ในที่ประชุม คชก. แต่ละฝ่ายก็ให้คำจำกัดความไม่เหมือนกันเรื่องพื้นที่ป่า ดังนั้น กรมชลฯจะกลับ ไปดูว่าแล้วรายงานการศึกษาฉบับอื่นๆที่เคยทำมาก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร แต่มั่นใจว่าประเด็นทางเทคนิค ด้านปริมาณน้ำ เรายืนยัน อ่างเก็บน้ำเป็นวิธีการที่ต้องเข้าไปแก้ไขพื้นที่ 300,000 ไร่ ที่เป็นพื้นที่ที่ยังขาดน้ำไม่น้อยกว่า 150 ล้านลูกบาศก์เมตร ต้องคุยกับกรมอุทยานฯว่าประเมินมูลค่าจะเอาแค่ไหน ถ้าข้อมูลเราถูก คุ้มค่า ก็เป็นประโยชน์ของชาวบ้าน ถ้าตรงไหนไม่ถูก เช่น การประเมินมูลค่าป่า ต้องทำตรงไหน ก็ไปว่ากัน หากมีข้อขัดแย้งบ้าง ก็ยังต้องโยนเข้า คชก. อีกครั้งหนึ่ง” นายสมเกียรติกล่าว
“ไม่ใช่ว่าพอไม่มีเขื่อนแม่วงก์แล้ว ปัญหาของชาวบ้านจะหมด เพราะพื้นที่นั้นจะมีทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งกินพื้นที่กว้างประมาณ 1 ล้านไร่ ซึ่งผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้มี 4 หน่วยงานหลัก คือ 1. กรมชลประทาน 2.กรมทรัพยากรน้ำ 3.กรมโยธาธิการ และ 4.ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ คือกรมชลประทาน ไม่เคยทำโครงการเล็กๆ ในพื้นที่ขนาดใหญ่เลย เพราะ ติดขัดในเรื่องกฎหมาย ส่วนกรมทรัพยากรน้ำก็ทำเฉพาะโครงการเล็กๆในพื้นที่ย่อยๆ ไม่เคยทำเรื่องใหญ่ๆเลย ขณะเดียวกัน กรมโยธาธิการก็ทำเรื่องเฉพาะจุด ดังนั้น หากรัฐบาลไม่มีนโยบายที่ชัดเจน สำหรับเข้าไปแก้ปัญหาตรงนี้ ปัญหาก็จะยังคงเกิดในพื้นที่ตลอดไป” นายศศินกล่าวและว่า จากการศึกษาของมูลนิธิสืบฯพบว่า การสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กผ่านเข้าไปในพื้นที่ที่มีปัญหา จะสามารถลดผลกระทบ ทั้งจากน้ำท่วมและน้ำแล้งได้ วิธีการดังกล่าวทำให้ประชาชนเข้าถึงน้ำได้มากกว่าระบบชลประทาน แต่เวลานี้ยังไม่มีระบบโครงข่ายอะไร เพื่อขยายทาง หรือแหล่งน้ำขนาดเล็ก เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีปัญหาเข้าถึงได้เลย เรื่องนี้เป็นหน้าที่ที่มูลนิธิสืบฯจะต้องผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาต่อไป
ด้านนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรม ชลประทาน กล่าวถึงเรื่องเขื่อนแม่วงก์ว่า หลังจาก คชก.ตีกลับรายงานผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (อีเอชไอเอ) โครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ของกรมชลประทานก็พร้อมจะนำอีเอชไอเอกลับมาศึกษาเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนให้ถูกต้อง แต่จะคงไม่หยุดดำเนินงานของโครงการกรมชลประทานคงไม่หยุดในชั้นนี้ เพราะเสียเงินเสียทองเดินหน้าศึกษาโครงการไปแล้ว แต่จะได้ก่อสร้างเขื่อนหรือไม่ ขึ้นกับนโยบายของรัฐบาล
ส่วนกรณีที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทำหนังสือถึงสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) คัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยระบุว่าเป็นพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์นั้น นายเลิศวิโรจน์ระบุว่า ก็เป็นความเห็นหนึ่งในการประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ก็ต้องมาหาข้อสรุปที่ยอมรับได้ร่วมกันต่อไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 พ.ย. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณารายงานผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม(อีเอชไอเอ) โครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เปิดเผยว่าในการประชุมคณะกรรมการ คชก.มีมติไม่สร้างเขื่อน แม่วงก์แล้ว เนื่องจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยนายนิพนธ์ โชติบาล อธิบดีกรมอุทยานฯได้ทำหนังสือคัดค้านการสร้างเขื่อนในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เพราะพื้นที่ดังกล่าวมีป่าที่สมบูรณ์มากกว่าที่จะปล่อยให้มีการสร้างเขื่อน รวมทั้งในอนาคตจะผนวกอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นพื้นที่มรดกโลก รวมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งซึ่งเป็นป่าผืนเดียวกัน เมื่อเจ้าของพื้นที่มีมติ ไม่เห็นด้วยให้เข้าไปใช้พื้นที่ ก็ถือว่าได้ข้อยุติว่าไม่ควรสร้าง อย่างไรก็ตาม เพราะว่าโครงการสร้างเขื่อน แม่วงก์เป็นโครงการที่เสนอโดยรัฐบาล คือ กรมชลประทาน ในอนาคตกรมชลประทานสามารถไปทำข้อมูลมาใหม่ เพื่อให้คณะกรรมการฯพิจารณาได้อีกครั้ง แต่กรมชลประทานควรจะไปคุยในรายละเอียดของพื้นที่ป่าในอุทยานแห่งชาติให้ได้ ตัวเลข และสถานการณ์ต่างๆ ตรงกันก่อนที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุม หากจะนำมาเสนออีกครั้ง
ส่วนนายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องดีอย่างยิ่งที่คณะกรรมการฯได้ข้อสรุปออกมาแบบนี้ ตนมั่นใจว่าหากไม่มีการเปลี่ยนตัวเลขาธิการ สผ.หรือเปลี่ยนประธาน คชก.เป็นคนอื่น เรื่องของเขื่อนแม่วงก์คงจะยังไม่มีขั้นตอนอะไรเกิดขึ้นมาอีกแล้ว อย่างไร ก็ตาม เรื่องของการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านในพื้นที่ยังคงต้องมีต่อไป ซึ่งหลังจากนี้มูลนิธิสืบฯจะต้องทำต่อคือ การผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปจัดการน้ำทางเลือก หรือการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก สำหรับพื้นที่ที่มีปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งในบริเวณนั้นต่อไป
ไม่สะเด็ดน้ำ สร้าง-ไม่สร้าง “เขื่อนแม่วงก์” 2 หน่วยงานรัฐ “กรมอุทยานแห่งชาติ-กรมชลประทาน” ยังเห็นต่างเหมือนเดิม หลัง คชก.มีมติไม่สร้างเขื่อนแม่วงก์ ชี้เป็นป่าสมบูรณ์ ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติฯไม่ให้ใช้พื้นที่อุทยานเตรียมผนวกเป็นพื้นที่มรดก โลกกับห้วยขาแข้ง ด้าน “กรมชลประทาน” ยันไม่หยุด เตรียมนำอีเอชไอเอ เขื่อนแม่วงก์ กลับมาศึกษาต่อให้ได้ข้อสรุป อ้างเสียงบประมาณศึกษาโครงการไปแล้ว พร้อมถกกรมอุทยานฯ ประเด็นคาใจเรื่องการประเมินมูลค่าป่า ส่วนจะได้ก่อสร้างหรือไม่เป็นเรื่องของนโยบายรัฐบาล ชี้อ่างเก็บน้ำช่วยแก้ปัญหาให้ชาวบ้านในพื้นที่ 300,000 ไร่ ที่ยังขาดแคลนน้ำ
หลังจากที่นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ออกมาคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ อีกครั้ง ด้วยการปักหลักนอนค้างที่หน้าสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 17-19 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อมาให้กำลังใจคณะกรรมการพิจารณาโครงการด้านแหล่งน้ำ ในการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) โครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ที่มีขึ้นในวันที่ 19 พ.ย.ซึ่งสุดท้ายที่ประชุมได้ให้สองหน่วยงานคือกรมอุทยานแห่งชาติฯ เจ้าของพื้นที่ที่ตั้งเขื่อนแม่วงก์ และกรมชลประทาน เจ้าของโครงการเขื่อนแม่วงก์ ไปพูดคุยศึกษาข้อมูลอีกครั้ง
แหล่งที่มา : ไทยรัฐ
Supply: คชก.ลงมติ ไม่สร้างแม่วงก์