ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของโตโยต้าเป็นไปตามคำแนะนำของกระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่น อีกทั้งยังเกิดขึ้นไม่นานหลังฮอนด้า มอเตอร์ ประกาศเรียกคืนรถยนต์ราว 170,000 คันทั่วโลก หลังเกิดเหตุในมาเลเซียเมื่อปลายเดือนก.ค. กรณีหญิงชาวมาเลเซียซึ่งขับรถยนต์ฮอนด้าซิตีประสบอุบัติเหตุ แต่ถุงลมนิรภัยกลับกางออกมาพร้อมของมีคมและทำให้เธอเสียชีวิต ซึ่งถุงลมดังกล่าวผลิตโดยบริษัททากาตะ กระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์ทุกแห่งในญี่ปุ่นเร่งตรวจสอบรถยนต์ของตัวเอง และเรียกคืนรุ่นที่มีการติดตั้งถุงลมของทากาตะ
ขณะที่นายฮิโรชิ ชิมิสึ รองประธานบริษัททากาตะเข้ารับการซักฟอกจากคณะกรรมาธิการด้านการค้าของวุฒิสภาสหรัฐเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังอุบัติเหตุทางรถยนต์ในประเทศอย่างน้อย 6 ครั้งในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา อาจมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับความบกพร่องในระบบถุงลมนิรภัยของทากาตะ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของทากาตะกล่าวขออภัยอย่างสุดซึ้ง และยืนยันจะรับผิดชอบพร้อมทั้งตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยละเอียดสำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ว่าบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 1 ของโลกจากญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์เรื่องการเรียกคืนรถยนต์จากตลาดทั่วโลกรวม 57,000 คัน ในจำนวนนี้ราว 40,000 คันเป็นรถยนต์ที่จำหน่ายในญี่ปุ่น ส่วนที่เหลือเป็นสินค้าที่จำหน่ายกระจายอยู่ในยุโรปและภูมิภาคอื่น โดยรุ่นของรถยนต์ที่ต้องเรียกคืนรวมถึงรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรุ่น ยาริส วิตซ์ และรถยนต์ครอสโอเวอร์ ราฟโฟร์ รุ่นที่ผลิตระหว่างเดือนธ.ค. 2545- มี.ค. 2547
แหล่งที่มา : เดลินิวส์