โครงการ ห้องเรียนอนาคตชี้ให้เห็นว่า แท็บเล็ตจะเข้ามารองรับการเรียนการสอนทดแทน นักเรียนจะใช้ปากกาสไตลัสป้อนข้อมูลบนแท็บเล็ต ซึ่งเหมาะสำหรับชั้นเรียนที่ต้องเขียนหนังสือด้วยลายมือและใช้ไม้ บรรทัด ตำราที่แจกจ่ายทางออนไลน์จะประกอบด้วยภาพมากมาย เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็กนักเรียน และค้นคว้าหาข้อมูลได้ฉับไวอีกด้วย เทคโนโลยีไอซีทีจะถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้เยาวชนได้รับการ ศึกษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
โรงเรียนประถมศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยสึกุบะได้ริเริ่มโครงการห้องเรียน อนาคต (Long run School room) เมื่อเดือนมิถุนายน 2556 โดยความร่วมมือจากบริษัท อุชิดะ โยโกะ (Uchida Yoko) ผู้จัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน บริษัท ไมโครซอฟท์ เจแปน และบริษัท ฟูจิตสึ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัท
ภายใต้โครงการนี้ ห้องเรียนถูกปรับเปลี่ยนเป็นสภาพแวดล้อมไอซีทีที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ไอซีที เพื่อสำรวจกิจกรรมการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ ซึ่งจะช่วยยกระดับการศึกษาชั้นประถม
นักเรียนทุกคนมีแท็บเล็ตพี ซี วินโดว์ส 8 จากฟูจิตสึ ภายในห้องเรียนมีระบบแสดงผลแบบหลายหน้าจอ แสดงผลบนจอแท็บเล็ตของครูผู้สอน และจอของนักเรียน ส่วนโต๊ะเรียนและเก้าอี้ให้เคลื่อนย้ายได้ง่ายดาย มีกระดานไวท์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่าย LAN ไร้สาย ที่ชาร์จแบตเตอรี่สำหรับแท็บเล็ต แอพพลิเคชั่นด้านการศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยสึกุบะ (College of Tsukuba Fundamental College) ประเทศญี่ปุ่น ได้เริ่มต้นใช้เทคโนโลยีไอซีทีในการเรียนการสอนมานานกว่า 10 ปี โดยมีคณะกรรมการใช้งานไอซีที (ICT Employment Panel) ทำหน้าที่บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีไอซีทีในห้องเรียน และรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะสร้างสภาพแวดล้อมการศึกษาที่นักเรียนทุกคนมี อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายได้ในปี 2563
ถึงแม้ว่า รัฐบาลจะมีเป้าหมายดังกล่าว แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นยังคงใช้ชอล์กและกระดานดำ อุปกรณ์ในห้องเรียนภายในโรงเรียนหลายแห่งยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน แปลงมานานหลายทศวรรษ โต๊ะเรียนถูกตั้งวางเรียงราย หันหน้าเข้าหากระดานดำ และโดยทั่วไปแล้ว ครูทำหน้าที่บรรยายการสอน ขณะที่นักเรียนตั้งใจฟังเพื่อซึมซับความรู้
แหล่งที่มา : เดลินิวส์