วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

เอกชนค้านพาณิชย์ลดราคาสินค้า

933235ส่วนผู้ผลิต และจำหน่ายสินค้าบริโภคและอุปโภค ก็ยังมองว่าหากปรับลดราคาสินค้าลง เป็นเรื่องไม่ยาก แต่การขอขึ้นราคาสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนราคาน้ำมัน หรือค่าแรง ที่จะปรับเพิ่มขึ้นอีก จะเป็นเรื่องยาก ดังนั้นแนวทางเดียวที่ดำเนินการได้คือ การใช้โปรโมชั่นเข้ามาแข่งขัน และเชื่อว่าผู้ผลิตสินค้าจะใช้แนวทางนี้เข้ามา แข่งขันที่รุนแรงขึ้นเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

“ปุ๋ย เคมีแม้จะได้รับอานิสงส์โดยตรง จากราคาน้ำมันที่ลดลงแ ต่ปัญหาคือเงินบาทของไทยอ่อนค่าลงมามาก เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ผู้นำเข้าได้รับภาระเรื่องค่าเงิน ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันดีเซลลดต่ำลง ก็จะเข้ามาชดเชยให้ราคาเท่าเดิม ขณะที่กลุ่มอาหารนั้น ยอมรับว่าคงปรับลดลงยากมาก โดยเฉพาะอาหารจานด่วน แม้ว่าวัตถุดิบจากสินค้าเกษตร และราคาน้ำมันดีเซลลดลง แต่ปัจจุบันร้านค้าได้รับผลกระทบจากแก๊สแอลพีจีที่เพิ่ม และอาหารขายได้น้อย ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง เพราะไม่สามารถซื้อวัตถุดิบได้ครั้งละมาก ๆ”

“ประเด็น ที่เอกชนกังวลตอนนี้ คือปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ ทั้งรัสเซีย กับสหรัฐ หรือ กลุ่มโอเปคกับสหรัฐ ทำให้กดราคาน้ำมันให้ลดลงผิดปกติ แต่หากประเทศเหล่านี้ กลับมาจับมือกันเหมือนเดิม เชื่อว่าราคาน้ำมันปรับขึ้นมาอยู่ในระดับ 90-100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แบบกะทันหัน ซึ่งหากลดราคาสินค้าไปแล้ว เชื่อว่าการขอปรับราคาต่อกรมการค้าภายในคงทำ ได้ลำบากสุดท้ายก็จะยิ่งขาดทุนมากขึ้น”

สำหรับสินค้าสำคัญ ๆ มีผลกระทบต่อราคาน้ำมัน เช่น ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ เชื่อว่าราคาน้ำมันดีเซล และค่าไฟฟ้าที่ปรับลดลงจะทำให้ต้นทุนรถยนต์ลดลงบ้าง แต่ไม่มาก ดังนั้นคงไม่สามารถปรับลดราคาได้ เพราะสินค้าแต่ละอย่าง เมื่อปรับลงแล้วปรับราคาขึ้นผู้บริโภคมองผู้ประกอบการในแง่ไม่ดี เบื้องต้น ค่ายรถยนต์ และโชว์รูมรถยนต์ ก็จะใช้วิธีการแถม และแจกของต่าง ๆ เพิ่ม ซึ่งบางโปโมรชั่นให้มากกว่า 100,000 บาท ที่เป็นนโยบายโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาลชุดก่อน

“การปรับลดราคารถ ยนต์ลง ก็จะกระทบอุตสาหกรรมนี้ เป็นลูกโซ่แน่นอน โดยเฉพาะรถยนต์มือสอง ที่จะเดือดร้อนอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของราคาน้ำมันที่ลดลงคง เป็นผลดีในเรื่องของผู้ใช้รถยนต์ หันมาใช้รถกันมากขึ้นเพราะน้ำมันถูกมาก ๆ”

รายงานข่าวจากกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าส่วนใหญ่ ไม่สามารถปรับลดราคาสินค้าตามที่ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ขอความร่วมมือ หลังจากราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงจากราคา 29.99 บาทต่อลิตรมาเหลือที่ 26.39 บาทต่อลิตร เนื่องจากผู้ผลิตสินค้าให้เหตุผลว่า ในเวลา4-5 ปี หลังการปรับราคาสินค้าให้ต้นทุนที่สูงขึ้นทำได้ลำบาก เพราะรัฐบาลทุกสมัย เน้นนโยบายขอความร่วมมือเชิงบังคับให้ตรึงราคาสินค้า 205 รายการตั้งแต่ 3-6 เดือนเพื่อดูแลค่าครองชีพของประชาชน ส่งผลให้สินค้าหลายชนิดปรับขึ้นราคาไม่มานาน

นอกจากนี้ ยังพบว่าช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากนโยบายปรับขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำ แบบก้าวกระโดดวันละ 300 บาททั่วประเทศ ได้สร้างภาระต้นทุนอย่างมาก แม้เบื้องต้นผู้ประกอบการบางกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ทดลองขึ้นราคาสินค้าให้สอดคล้องตามต้นทุน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า จากการใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงานคนยังคงราคาเดิม สุดท้ายเอสเอ็มอีต้องปรับราคาลงมาในระดับเดิม เพื่อประคองกิจการจนกว่า เศรษฐกิจดีขึ้นอีกครั้ง

อย่างไรก็ตามแม้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ยืนยันจะไม่ปรับราคาสินค้าใหม่ แต่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทั่วโลก โดยเฉพาะไทยที่กำลังซื้อในต่างจังหวัดลดลง จากราคาพืชผลทางการเกษตร เช่น ยางพารา และ ข้าวตกต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้แผนโปโมรชั่นลด แลก แจก แถม เป็นช่วงบางเวลาแทน ซึ่งมั่นใจว่าระหว่างนี้ผู้บริโภคจะทยอยเห็นผู้ประกอบการจัดโปรโมชั่นอย่าง ต่อเนื่อง

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: เอกชนค้านพาณิชย์ลดราคาสินค้า