วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

สบส.เร่งออกกม.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์

981364ด้าน นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่า การจัดตั้งพ.ร.บ.ใหม่ที่มีการตั้งกองทุนขึ้นมาพิเศษเป็นการสิ้นเปลืองงบ ประมาณ แทนที่จะไปขยายวงเงินชดเชยมาตรา 41 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่จ่ายชดเชยกรณีเสียชีวิตอยู่ที่ 400,000 บาท พิการ 240,000 บาท และกรณีติดเชื้อรุนแรงหรือความเสียหายอื่น ๆ 100,000 บาท และไปขยายให้ครอบคลุมทุกสิทธิการรักษาพยาบาลในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 4 มี.ค.  นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.)กล่าวถึงความคืบหน้าการร่างพ .ร.บ.กองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุขพ.ศ... ว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ผ่านการประชาพิจารณ์มาแล้ว 4 ภาค และภายใน 2 สัปดาห์นี้จะมีการรับฟังความเห็นครั้งสุดท้ายในกลุ่มภาคประชาชนผู้บริโภค เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และสภาวิชาชีพต่าง ๆ เป็นต้นจากนั้นจะนำความเห็นมาประมวล และเสนอต่อรมว.สาธารณสุขพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ สำหรับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวได้มีการปรับปรุง เพื่อคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากบริการสาธารณสุขทั้งในส่วนของประชาชน และผู้ปฏิบัติงานเอง โดยหลักการ เพื่อให้เกิดการประนีประนอมลดปัญหาการฟ้องร้อง ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่เป็นการฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายดังนั้นจากนี้หากผู้ เสียหายได้รับการช่วยเหลือแล้วต้องยุติการฟ้องร้องทางแพ่ง

ทั้งนี้เมื่อกฎหมายดังกล่าวประกาศใช้แล้วจะต้องมีการยกเลิกมาตรา 41 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจ่ายชดเชยความเสียหายที่เกิดจากบริการสาธารณสุข ซึ่งกฎหมายใหม่ไม่ได้กำหนดเพดานการจ่ายเงินชดเชยให้ว่า อยู่ที่เท่าไหร่แต่ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผล กระทบซึ่งมีรมว.สาธารณสุข เป็นประธานเป็นผู้พิจารณาแต่น่าจะชดเชยให้ในอัตราที่มากกว่ามาตรา 41 แน่นอนส่วนงบประมาณที่ใช้นั้นก็โอนมาจากงบมาตรา 41 นั่นเอง ขณะเดียวกันก็ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองทุนสุขภาพประเภทอื่น ๆ กำหนดงบจำนวนเงินไม่เกินร้อยละ 1 ของงบประมาณที่ได้รับมาให้กองทุนใหม่นี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ต้องประมวลกฎหมายและความเห็นกันอีกครั้ง

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: สบส.เร่งออกกม.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์