2. เอสเอ็มอีแบงก์ และธนาคารอิสลาม ให้ตรวจสอบทรัพย์สินในการแยกหนี้ดี หนี้เสีย จัดทำแผนและทิศทางในอนาคตขององค์กร กำหนดให้เอสเอ็มอีแบงก์คงหลักเกณฑ์ปล่อยสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาท ในสัดส่วน 80% ของสินเชื่อรวม 3. การบินไทย ให้เร่งปรับปรุงแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรโดยเน้นที่การลดต้นทุนอย่างจริงจัง และลดหน่วยธุรกิจที่ไม่ทำกำไร โดยแผนการลดต้นทุนจะต้องมีเป้าหมายลดต้นทุนที่ท้าทาย เช่น 20-30% รวมทั้งนำเสนอมาตรการที่ใช้ประโยชน์จากพันธมิตรสายการบินทั้งในและนอก Star Alliance อย่างเป็นรูปธรรม และให้ความสำคัญกับตำแหน่งยุทธศาสตร์ในรายละเอียด และมีกลยุทธ์ที่ลึกซึ้งกว่าเป็นสายการบินที่ให้บริการระดับพรีเมียมเท่านั้น
4. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แผนการฟื้นฟูของทั้งสององค์กร ในเบื้องต้นพบว่าเป็นเพียงแค่การเสนอขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อชำระหนี้สินและการรับภาระค่าใช้จ่ายขององค์กรเป็นหลัก โดยมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือปรับปรุงการบริหารจัดการที่เหมาะสมมากขึ้น ที่จะมั่นใจว่าไม่มีปัญหาแบบเดิมอีก จึงเห็นควรให้มีการแยกบทบาทการกำกับดูแลออกจากผู้ประกอบการ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดบทบาทและทิศทางการดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป
3. การสร้างความโปร่งใสการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระบวนการเปิดเผยข้อมูลและติดตามการดำเนินโครงการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจที่เป็นมาตรฐานสากลมาใช้ 4. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพจัดทำข้อตกลงคุณธรรมของโครงการจัดซื้อรถโดยสารก๊าซธรรมชาติขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และโครงการสำหรับการจัดหาเอกชนลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายขององค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำกัด หรือ รฟม. 5. จัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นกองทุนแรกในรูปแบบดังกล่าววงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อเป็นต้นแบบให้รัฐวิสาหกิจต่างๆในการดำเนินการต่อไปในอนาคต
6. การพิจารณาโครงการขนาดใหญ่ของรัฐให้ใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2557 ที่กำหนดหน้าที่ให้ คนร.พิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็นต่อ ครม.ขณะที่โครงการที่ไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่ให้อยู่ในอำนาจของประธาน คนร.เสนอความเห็นต่อ ครม.ในการขออนุมัติโครงการ 7. คนร.เสนอให้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ โดยทบทวนบทบาทของรัฐวิสาหกิจทั้ง 56 แห่ง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งกำหนดทิศทางที่เหมาะสมที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ 8. ให้มีการยกเลิกสิทธิประโยชน์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการของรัฐวิสาหกิจและสิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งให้กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย และวงเงินที่ชัดเจน สำหรับสิทธิประโยชน์อื่นๆ และ 9. พิจารณาอนุมัติวงเงินบริจาคของรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ขององค์กรและประเทศเป็นสำคัญ รวมทั้งปรับลดวงเงินบริจาคในปีงบประมาณ 2558 ลง 10% จากวงเงินที่มีการบริจาคในปีที่ผ่านมา
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซุปเปอร์บอร์ด ได้นำเสนอ 9 แนวทางการบริหารรัฐวิสาหกิจทั้ง 56 แห่ง และแนวทางแก้ไข 7 รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาให้ ครม.รับทราบ
ประกอบด้วยแนวทางแรก 1. นำระบบบรรษัทภิบาลมาบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ เช่น มีกระบวนการสรรหาและคัดเลือกคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้คนที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับภารกิจ กำหนดยุทธศาสตร์และวัตถุประสงค์เป็นกรอบการทำงานที่ชัดเจน กำหนดการประเมินผลการดำเนินการ และเปิดเผยข้อมูลเทียบเท่ามาตรฐานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 2. การปฏิรูปการกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้กำกับดูแล ครอบคลุมถึงการออกเกณฑ์กำกับดูแลและการตรวจสอบความเหมาะสมของผู้บริหาร รวมถึงการสั่งการแก้ไขปัญหา ส่วนรัฐกำกับนโยบายและการกำกับในฐานะผู้ถือหุ้น และเจ้าของกิจการยังเป็นกระทรวงการคลัง โดยให้คลังและ ธปท.หารือเพื่อกำหนดรายละเอียดการดูแลต่อไป
แหล่งที่มา : ไทยรัฐ
Source: แจงแผนกู้ชีพ 7 องค์กรเจ้าปัญหา “ซุปเปอร์บอร์ด”ชง ครม.9 ข้อพลิกโฉมรัฐวิสาหกิจ