วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สศอ.จ่อหั่นโควตานำเข้าเหล็กญี่ปุ่น

EyWwB5WU57MYnKOuFIwwMK7sqqtQGykWJIzGRkwuNswX7kZS5zxvkPนอกจากนี้ สศอ.ยังมีนโยบายส่งเสริม และยกระดับศักยภาพศูนย์ทดสอบของสถาบันเหล็กแห่งประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางทดสอบของอาเซียน เพราะต้องการส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเหล็กของไทย ซึ่งประเด็นนี้จะหารือกับญี่ปุ่น เพื่อขอความร่วมมือสนับสนุนให้บรรลุผลตามข้อตกลงต่อไป

ทั้งนี้ การดำเนินการภายใต้ความตกลงเจเทปา ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2550 -2557 ปรากฏว่าประเทศไทยได้ยกเว้นภาษีนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนกัดกรดเคลือบน้ำมัน (คิว 9) ประมาณปีละ 440,000-530,000 ตัน, เหล็กแผ่นรีดร้อนหน้ากว้างสำหรับนำไปรีดเย็นต่อ ที่มีส่วนผสมของคาร์บอนน้อยกว่า 0.01% (คิว 10) ประมาณปีละ 170,000-350,000 ตัน และเหล็กแผ่นรีดร้อนหน้ากว้าง สำหรับนำไปรีดเย็นต่อเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีส่วนผสมของคาร์บอน 0.01-0.1% (คิว 11) ปีละ 400,000 ตัน ซึ่งปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อน คิดเป็น 50-80% ของปริมาณนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อน ทั้งหมดจากญี่ปุ่น

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับลดโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากญี่ปุ่น ให้นำเข้าตามปริมาณการใช้จริงเท่านั้น เนื่องจากปีที่ผ่านมา ประเทศไทยนำเข้าเหล็กจากญี่ปุ่นสูงมาก เนื่องจากคาดว่าจะผลิตรถยนต์ได้ 2.5-2.6 ล้านคัน แต่ผลิตจริงได้ 2.4 ล้านคัน ทำให้มีปริมาณเหล็กส่วนเกินค้างในปีนี้จำนวนหนึ่ง รวมทั้งต้องการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ใช้เหล็กในประเทศมากขึ้น ส่วนโควตานำเข้าลดลงเท่าใดนั้น จะหารือร่วมกับญี่ปุ่นในความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่น ตามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) อีกครั้ง คาดว่าจะได้ข้อสรุปในวันที่ 11 ธ.ค.นี้ และจะแจ้งให้กระทรวงพาณิชย์ประกาศโควตานำเข้าต่อไป

สำหรับความต้องการใช้เหล็กในไทย ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยปีหน้าคาดว่าจะมีความต้องการใช้เหล็ก 17-17.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3% แบ่งเป็นเหล็กที่ผลิตในประเทศ 6.2 ล้านตัน ที่เหลือนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นไม่มาก เนื่องจากโครงการลงทุนภาครัฐแม้จะอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในเดือน ธ.ค.นี้เพิ่มเติม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือน ม.ค.2558 แต่จะดำเนินการก่อสร้างจริงได้ประมาณปลายปีหน้า

แหล่งที่มา  :  ไทยรัฐ

Source: สศอ.จ่อหั่นโควตานำเข้าเหล็กญี่ปุ่น