ทั้งนี้ กรมสรรพากรเคยนิรโทษกรรมภาษีให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอี 5 ครั้ง หรือ ในระหว่างปี 2520-2534 ด้วยเหตุผลหลัก คือ ผู้ประกอบธุรกิจประสบปัญหาด้านการเงินและต้องการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ โดยการนิรโทษกรรมภาษีดังกล่าวทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ 1,000-4,000 ล้านบาทต่อปี แต่ในทางการลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศยังไม่เห็นผล และยังพบว่า ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ยังมีพฤติกรรมเลี่ยงภาษี ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจอ้างเหตุที่เลี่ยงภาษี ว่าเพราะอัตราภาษีสูงนั้น ปัจจุบันอัตราภาษีที่จัดเก็บหากรายได้ไม่เกิน 300,000 บาทแรกจะเสียภาษีในอัตรา 0% ส่วนที่เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาทจะเสียในอัตรา 15% เป็นอัตราต่ำสุดในกลุ่มประเทศเอเชีย และหากนิรโทษกรรมภาษีตามข้อเสนอดังกล่าว อาจจะไม่เป็นธรรมกับผู้เสียภาษีรายอื่น ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ.นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากรเปิดเผยกรณีภาคเอกชนเสนอให้กรมสรรพากรปรับลดอัตราภาษีและนิรโทษกรรมภาษีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีว่า กรมสรรพากรได้มีการชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหรือ กรอ.ว่า กรมสรรพากรรู้สึกกังวลและไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคเอกชนในเรื่องดังกล่าว เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าระบบอย่างถูกต้องแล้ว ยังจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ราวปีละ 25,000-270,000 ล้านบาทต่อปีอีกด้วย
แหล่งที่มา : ไทยรัฐ
Source: ค้านนิรโทษภาษีเอสเอ็มอี