นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้กรมฯ ได้เร่งปรับกระบวนการทำงานช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งใหม่ หลังรัฐบาลมีมติให้ดำเนินโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ที่สนับสนุนเงินช่วยเหลือให้เกษตรกรในการส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ช่วงหน้าแล้งตำบลละ 1 ล้านบาท จำนวน 3,052 ตำบล ใน 58 จังหวัด เพราะโครงการนี้เปิดโอกาสให้เกษตรกรเสนอโครงการที่จะเป็นประโยชน์และสร้างรายได้ให้แก่ตัวเองในช่วงหน้าแล้ง ดีกว่าฝืนเพาะปลูกแล้วเสียหาย รัฐต้องชดเชยภายหลัง โดยในเดือน ต.ค.57-ม.ค.58 จังหวัดต่างๆเสนอของบฯ ชดเชยภัยแล้งเข้ามากว่า 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ตนได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจการปฏิบัติงานและการเบิกจ่ายเงินตามโครงการให้แก่ผู้แทนตำบลต่างๆ รับฟังแล้ว ทั้งอีสานเหนือและอีสานใต้ ครอบคลุมกว่า 3,000 ตำบล.
ทั้งนี้ เมื่อสอบถามการนำเงินที่ได้รับไปใช้จ่าย พบว่าเกษตรกร 49% นำเงินเก็บไว้ลงทุนทำนาในครั้งต่อไป ใช้เพื่ออุปโภค/ บริโภค 38% ใช้จ่ายค่าหนี้สินที่เป็นปัจจัยการผลิตข้าวที่ค้างจ่าย 10% ใช้หนี้ผู้ให้กู้ยืม 8% ใช้หนี้ ธ.ก.ส. 4% และอื่นๆ 10% ได้แก่ เก็บออม ลงทุนทำการเกษตรประเภทอื่น เป็นต้น ด้านความพึงพอใจ ภาพรวมพบว่า เกษตรกร 55% พอใจมาก, 36% พอใจปานกลาง และ 9% พอใจน้อย เนื่องจากเงินที่ชดเชยมีจำนวนน้อยเกินไป
โดยชาวนาที่เห็นว่าได้รับเงินน้อยเกินไป ต้องการให้รัฐจ่ายเงินชดเชยตามจำนวนพื้นที่ที่ทำนาทั้งหมด หรือ ชดเชย 2 ใน 3 ของพื้นที่ทำนาหรือชดเชยขั้นต่ำ 30 ไร่ เป็นต้น และควรเพิ่มเงินชดเชยเป็น 2,000-3,000 บาทต่อไร่ รวมทั้งเห็นว่ามาตรการดังกล่าวเกิดประโยชน์เฉพาะผู้ทำนาพื้นที่น้อยเท่านั้น นอกจากนี้ชาวนาส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นโครงการที่ช่วยเหลือเกษตรกรได้โดยตรง จึงควรดำเนินการต่อในปีถัดไป
ศก.สำรวจความพึงพอใจชาวนาโครงการรัฐแจกเงินไร่ละ 1,000 บาท พบ 55% พอใจมาก อยากให้แจกต่อเพราะช่วยเหลือได้โดยตรง ส่วน 9% บอกจ่ายน้อยไป สศก.ระบุเงินถึงมือชาวนาเฉลี่ยรายละ 13,860 บาท จากสูงสุดรายละ 15,000 บาท โดยส่วนใหญ่ 49% นำเงินที่ได้ไปลงทุนทำนารอบใหม่
นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)เปิดเผยว่า สศก. ได้ดำเนินการติดตามประเมินผลมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยปีการผลิต 2557/58 มาตรการชดเชยรายได้ให้เกษตรกรผู้ผลิตข้าวไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดรายละ 15,000 บาท จำนวน 833 ตัวอย่างในพื้นที่ 18 จังหวัด พบว่าเกษตรกร 98% ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดได้รับเงินแล้วอีก 2% ยังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากมีการแก้ไขเอกสาร เช่น มีการเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองที่ดิน เกษตรกรเปลี่ยนนามสกุล เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรจะได้รับเงินชดเชยเฉลี่ย 13,860 บาท/ราย โดยมีชาวนาที่ได้รับสูงสุด 15,000 บาท/ราย และได้รับต่ำสุด 1,500 บาท/ราย
แหล่งที่มา : ไทยรัฐ
Source: เอาอีก แจกเงินไร่ละพัน ชาวนากรี๊ดขออีกรอบช่วยตรงถึงมือ