วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อย่าอ่อนไหวกับแรงกดดันพลังงานรอบทิศ

967525ส่วนข้อโต้แย้งอื่น ๆ นั้นผมเห็นว่าเป็นรายละเอียดข้อปลีกย่อยที่สามารถจัดการได้เพราะเวลาสี่ปีนั้นก็คือระยะเวลาเปลี่ยนผ่านที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและกระทรวงพลังงานจะต้องไปดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียมและจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาร่วมบริหารงานกับผู้ประกอบการในระบบ PSC

ส่วนความเสียเปรียบของรัฐบาลหรือความไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการรายอื่นนั้นผมคิดว่าถ้ามีการประกาศเงื่อนไขล่วงหน้าให้เป็นที่รับรู้โดยทั่วกันก่อนมีการพิจารณาตัดสินแล้วประเด็นนี้ก็ไม่ใช่ปัญหาหรอกครับ

ขอแต่เพียงกระทรวงพลังงานอย่าใจอ่อนยอมเปลี่ยนเงื่อนไขบ่อย ๆ ตามแรงกดดันอยู่ร่ำไปก็แล้วกันถ้าเป็นอย่างนั้นผมเป็นห่วงว่าจะไม่มีใครเขาสนใจมายื่นขอสิทธิในการสำรวจเอาน่ะนา

อย่างไรก็ตามการแสดงท่าทีผ่อนปรนหรือยอมรับฟังเสียงคัดค้านท้วงติงด้วยการปรับเงื่อนไขในแปลงสำรวจปิโตรเลียมสามแปลงดังกล่าวข้างต้นกลับไม่ได้ผลตามความมุ่งหมายของกระทรวงพลังงานเพราะกลุ่มผู้คัดค้านก็ยังคงไม่พอใจและเดินหน้าคัดค้านต่อไปแถมยังคัดค้านหนักขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย เพราะมีข้ออ้างว่ากระทรวงพลังงานเองก็ยังไม่มั่นใจว่าระบบสัมปทานดีจริงจึงต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบ PSC ในแปลงที่มีศักยภาพสูงว่าจะมีปิโตรเลียม แสดงว่าระบบ PSC ต้องดีกว่าระบบสัมปทานแน่ ๆ

ข้อโต้แย้งอีกประการหนึ่งคือการให้เวลาถึงสี่ปีจะเปลี่ยนมาใช้ระบบ PSC หรือไม่เป็นการผลักภาระให้รัฐบาลหน้าและไม่มีหลักประกันว่าเมื่อถึงเวลานั้นจะได้ใช้ PSC หรือไม่ รวมทั้งการให้สิทธิในการสำรวจไปก่อนในระบบสัมปทานแล้วมาเจรจาเปลี่ยนเงื่อนไขทีหลังให้เป็นระบบ PSC จะทำให้รัฐเสียเปรียบผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิในการสำรวจไปแล้วและไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการรายอื่นที่ไม่มีโอกาสเข้าเจรจาต่อรองในระบบ PSC ด้วย

ผมพิจารณาแล้วข้อโต้แย้งบางข้อมีเหตุผลน่ารับฟังมากเช่นเรื่องความไม่มั่นใจของกระทรวงพลังงานในระบบสัมปทานว่าจะดีกว่า PSC จริง ๆ หรือถ้ามั่นใจก็แสดงว่าอ่อนไหวหรือทนต่อแรงกดดันไม่ได้

การประกาศทบทวนเงื่อนไขการให้สิทธิสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่สามแปลงที่ทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเห็นว่ามีศักยภาพที่จะพบปิโตรเลียมสูง โดยอาจเปลี่ยนจากระบบสัมปทานมาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) หรือระบบอื่นได้ภายในสี่ปีก่อนที่จะมีการเริ่มผลิต ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ผมเข้าใจว่าการที่กระทรวงพลังงานตัดสินใจทบทวนประกาศดังกล่าวคงมีเจตนาหลักในการต้องการลดกระแสการคัดค้านการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ของประชาชนกลุ่มหนึ่งและต้องการลดแรงกดดันจากหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ที่ได้มีการลงมติด้วยคะแนนเสียง 130:79 ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมากให้เดินหน้าการสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยใช้ระบบสัมปทานต่อไป หรือจากกลุ่มกดดันอื่น ๆ ในสังคมที่ออกมาเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานทบทวนหรือพิจารณาระบบสัมปทานกับระบบแบ่งปันผลผลิตอีกครั้งว่าระบบใดจะเหมาะสมกับประเทศไทยกันแน่

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: อย่าอ่อนไหวกับแรงกดดันพลังงานรอบทิศ