วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โรคอ้วนทำลายเศรษฐกิจโลก

 abi9be99fjcd5b8ekfb96 นักวิชาการหลายท่านแนะนำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ใช้วิธีการทางภาษีในการลด และกำจัดปัญหาโรคอ้วน เช่นเดียวกับการควบคุมการบริโภคบุหรี่ในประเทศนั้นๆ โดยแนะนำให้รัฐบาลเพิ่มเพดานภาษีสำหรับเครื่องดื่มน้ำอัดลม อาหารที่เต็มไปด้วยน้ำตาลและแป้ง และลดภาษีสำหรับอาหารที่มีความสมดุลทางโภชนาการ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนหันมาบริโภคอาหารที่ดี ถูกต้องตามหลักโภชนาการมากขึ้น


                ในสหรัฐอเมริกาก็มีมาตรการป้องกันโรคอ้วนออกมาแล้วในบางเมือง เช่น เมืองเบิร์คเลย์ ออกกฎหมายห้ามจำหน่ายน้ำอัดลมให้ผู้เยาว์ และห้ามจำหน่ายในสถาบันการศึกษา


                ต่อไปเราคงจะได้เห็นมาตรการป้องกันโรคอ้วนที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น เช่นเดียวกับมาตรการรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ ที่ทำร้ายพลเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ ไม่แพ้กัน
  มีการประมาณว่าในโลกนี้มีผู้เป็นโรคอ้วนราว 2,100 ล้านคน หรือ 30% ของประชากรโลก


                ส่วนใหญ่เป็นประชากรในประเทศพัฒนาแล้วที่ "มีอันจะกิน" หรือ "มีเงิน แต่ไม่มีเวลา" จึงต้องอาศัยอาหารประเภทที่ฝรั่งเรียกว่า "จังก์ ฟู้ด" เป็นหลัก และขาดการออกกำลังกายด้วยเงื่อนไขต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน


                การที่เป็นโรคอ้วนหรือไม่นั้นสามารถประเมินได้จากดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) หรือบีเอ็มไอ ที่คิดง่ายๆ จากสูตรการวัดน้ำหนักมาหารส่วนสูงของบุคคลๆ นั้น ถ้าดัชนีบีเอ็มไอเกินกว่า 25 หมายถึงว่าท่านมีน้ำหนักเกิน แต่ยังไม่ถือเป็นโรคอ้วน ถ้าดัชนีบีเอ็มไออยู่ระหว่าง 30-40 ถือว่าเข้าสู่ภาวะโรคอ้วนแล้ว และถ้าสูงกว่านั้นถือว่าอ้วนมาก แต่ถ้าดัชนีบีเอ็มไอต่ำกว่า 18.5 นั่นหมายความว่าท่านมีน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน
นักเศรษฐศาสตร์ในรัฐบาลประเทศต่างๆ กำลังวิตกกับกระแสการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ที่มีอาการ "โรคอ้วน" ซึ่งคนทั่วไปมักจะคิดว่าโรคอ้วนนั้นน่าจะเป็นปัญหาของกระทรวงสาธารณสุขมากกว่า แต่ที่นักเศรษฐศาสตร์ในกระทรวงการคลังต้องนั่งกุมขมับกันมาจากการที่รัฐบาลต้องจัดสรรค่ารักษาพยาบาลให้โรงพยาบาลของรัฐให้พร้อมรักษาอาการต่างๆ ของพลเมืองที่มีโรคอ้วน


                ซึ่งการวิจัยของสถาบันแมคคินซีย์ โกลบอล พบว่าในแต่ละปี โรคอ้วนทำให้เศรษฐกิจโลกสูญเสียรายได้ราว 1.3 ล้านล้านปอนด์ (ประมาณ 56 ล้านล้านบาท) คิดเป็น 2.8% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลก เฉพาะในประเทศอังกฤษ รัฐบาลเมืองผู้ดีก็ต้องสูญเสียเงินไปกับการดูแลผู้ที่เป็นโรคอ้วนราว 47,000 ล้านปอนด์ (ประมาณ 2.35 ล้านล้านบาท)

แหล่งที่มา  :  คมชัดลึก


Source: โรคอ้วนทำลายเศรษฐกิจโลก