วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

รับฟัง "สปช." โหวตค้านสัมปทานรอบ 21 แต่เดินหน้าสำรวจต่อไป

EyWwB5WU57MYnKOuFNAPJX9DEOzDvDPQyFFg1gLdLNzIKahHHeu3Gaขอยืนยันว่า การดำเนินการทั้งหมดไม่ได้เร่งรีบเพราะได้เตรียมการเปิดมาตั้งแต่ปี 2553 ด้วยเหตุที่ประเทศไทย มีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น แต่การจัดหาในประเทศเริ่มน้อยลง ดังนั้น การเปิดสัมปทานฯครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซฯภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศที่ปัจจุบันต้องพึ่งพิงการนำเข้าพลังงานกว่า 50% ของความต้องการใช้ภาพรวมหรือคิดเป็นมูลค่าปีละกว่า 1.44 ล้านล้านบาท”

นางพวงทิพย์ กล่าวว่า การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ผลประโยชน์ที่รัฐบาลจะได้รับ ก็ไม่น้อยกว่าระบบพีเอสซี โดยแบ่งปันผลประโยชน์ของรัฐและเอกชนในสัดส่วน 72% ต่อ 28% หลังหักจากค่าใช้จ่ายไปแล้ว และการดำเนินการไม่ซ้ำซ้อน โปร่งใสกว่าทุกครั้ง เพราะทุกอย่างเป็นไปตามที่รัฐบาลประกาศ แต่พีเอสซีต้องแก้กฎหมายตั้งองค์กรใหม่ มาเจรจารายสัญญากับเอกชน ทำให้อาจเสียเวลาในการดำเนินการ หลังอนุมัติโครงการแล้วทุกสัญญาของเอกชนที่จะไปว่าจ้างต่อ ต้องขอความเห็นชอบจากองค์กรใหม่ ที่จะจัดตั้งขึ้น ซึ่งทำให้การทำงานล่าช้า และอาจเป็นช่องโหว่ของการแสวงหาผลประโยชน์ได้.

นายคุรุจิต กล่าวว่า สปช.พลังงาน ได้ศึกษารายละเอียดในเรื่องดังกล่าวรวม 3 ประเด็น คือ 1.ให้เปิดสัมปทานรอบ 21 ใช้ระบบสัมปทานประเทศระบบที่ 3 หรือไทยแลนด์ทรี 2.ยกเลิกสัมปทานรอบ 21 แล้วให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตที่ได้จากการขุดเจาะ หรือพีเอสซี และ 3.เปิดสัมปทานรอบ 21 โดยใช้ระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีพลัส หรือระบบที่ 3 พิเศษที่ให้เอกชนเพิ่มผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐเพิ่มขึ้น และให้ศึกษาระบบพีเอสซี ว่าสมควรจะใช้ในการประกาศเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบต่อไปหรือไม่ ซึ่ง สปช.พลังงานได้เลือกข้อสรุปที่ 3 ส่งต่อให้รัฐบาลพิจารณา

ด้านนางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า กรรมาธิการพลังงาน สปช.ได้ทำการศึกษาตามที่รัฐบาลให้ดำเนินการเมื่อศึกษาเสร็จ ก็ส่งให้รัฐบาลว่าจะตัดสินใจอย่างใดในเรื่องนี้ แต่ ณ ขณะนี้การเปิดสัมปทานรอบ 21 ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงยังคงเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี โดยจะปิดรับข้อเสนอในวันที่ 18 ก.พ.ตามเดิม โดย มีผู้สนใจมาขอดูข้อมูลทั้งรายเก่าและรายใหม่ นับสิบราย ส่วนจะมีการยื่นขอสัมปทานมากน้อยอย่างไร ต้องรอดูในวันที่ 18 ก.พ.นี้

กระทรวงพลังงานรอ “สปช.” ส่งรายงานอย่างเป็นทางการพร้อมรับฟัง แต่หลักการยังคงเดินหน้าเปิดให้ยื่นสิทธิ์สำรวจตามเดิมภายใน 18 ก.พ.นี้ ยืนยันไม่ได้รีบเหตุแผนงานดังกล่าวได้วางไว้ ตั้งแต่ปี 2553 เหตุสำรองก๊าซฯในไทยเริ่มถดถอย ย้ำผลประโยชน์สัมปทานไม่ต่างจากระบบแบ่งปัน

นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงานและสมาชิกสภาปฏิรูปด้านพลังงาน (สปช.) เปิดเผยว่า ตนได้หารือและรายงานถึงกรณีมติ สปช. 130 ต่อ 79 คะแนน ที่ไม่เห็นด้วยข้อเสนอคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช.เสียงข้างมาก ให้เดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 กับนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน ซึ่งนายณรงค์ชัยยังไม่มีนโยบายเปลี่ยนแปลงใดๆ
และขอยืนยันว่า กระทรวงพลังงานจะเดินหน้าตามกรอบเดิม

“กระทรวงพลังงาน ต้องรอให้ สปช.ส่งรายงานผลสรุปอย่างเป็นทางการ ในผลการลงมติดังกล่าวมาก่อน หลังจากนั้นจะดูข้อเสนอต่างๆ แต่หลักการปัจจุบันยังไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะกระทรวงพลังงานมีหน้าที่บริหารและมีหน้าที่รับฟังจาก สปช. กระทรวงพลังงานพร้อมเดินหน้าตามนโยบายรัฐบาล โดยการศึกษาเรื่องนี้เป็นไปตามที่รัฐบาลส่งมาให้ สปช.ศึกษาหลังประกาศปิดสัมปทานรอบ 21 ไปเมื่อวันที่ 21 ต.ค.2557 และเห็นว่าสัมปทานรอบ 21 ควรเปิดตามปกติ ที่ประกาศไปแล้ว เพราะเป็นเรื่องจำเป็นของประเทศไทย”

แหล่งที่มา  :  ไทยรัฐ

Source: รับฟัง "สปช." โหวตค้านสัมปทานรอบ 21 แต่เดินหน้าสำรวจต่อไป