วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

“อุ๋ย” เมินขาดทุนลุยสู้ค่าเงิน กนง.คงดอกเบี้ยนโยบายไม่หวั่นคิวอียูโร

EyWwB5WU57MYnKOuFM9LcZ0bOyZxMYAxUaN2l5iwDuXKIcvJsgcp8Jนอกจากนี้ ที่ประชุม กนง.ได้หารือถึงความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายและปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจโลก โดยสั่งให้ ธปท.จับตาการเคลื่อนย้ายของเงินทุนอย่างใกล้ชิด โดยมองว่า การรับมือกับความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย การเก็งกำไรค่าเงินบาทนั้น ควรใช้มาตรการในการ ดูแลอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งมีหลายมาตรการตั้งแต่แบบอ่อนไปถึงการออกเกณฑ์ในการควบคุมเงินทุน ส่วนการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยในการดูแลเงินทุนเคลื่อนย้าย ธปท. มองว่าดอกเบี้ยมีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายเป็นส่วนน้อยเท่านั้น

“ค่าเงินบาทวานนี้ (28 ม.ค.) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ตามค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ เนื่องจากสิงคโปร์มีการเปลี่ยน แปลงระบบการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนจากที่เคยตรึงค่าเงิน เพื่อรับมือกับเงินทุนที่ไหลเข้าสิงคโปร์จำนวนมากในระยะต่อไป ทำให้ค่าเงินภูมิภาคอ่อนค่าลง แต่สำหรับไทยนั้น กนง.มองว่าเงินทุนที่จะไหลเข้ามาจากการที่ยุโรปทำคิวอี จะไม่มากเท่าที่เคยเข้ามาในช่วงสหรัฐฯ ทำคิวอี ดังนั้น เงินทุนของไทยในขณะนี้มีทั้งไหลเข้าและไหลออก”.

“ภรรยาผมไปจ่ายตลาด บอกว่าราคาวัตถุดิบปรับลดลงแล้ว แต่ราคาอาหารจานเดียวยังไม่ยอมปรับราคาลงส่วนนี้รัฐบาลจะเข้าไปบีบเพื่อให้ปรับราคาอาหารจานเดียวลงก็คงไม่ได้ เพราะไม่ใช้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ มีแต่หนังสือ พิมพ์ช่วยได้ เขียนถึงบ่อยๆ ราคาก็จะลงเอง”

ด้านนายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย สายนโยบายการเงิน ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า กนง.มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2% ต่อปี โดยคณะกรรมการ 2 เสียง มีความเห็นให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง แต่กรรมการส่วนใหญ่มองว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่ประเมินว่าไตรมาสแรกของปีนี้จะขยายตัวได้ในอัตรามากกว่า 4% จากระยะเดียวกันของปีก่อน แสดงแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันที่ปรับลดจะช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้จ่ายให้กับประชาชน ขณะที่ภาครัฐมีการเร่งลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ส่วนการเข้าพบของนายหลุยส์ อี บริวเออร์ ผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ได้เข้าพบมีคำแนะนำตรงกับแผนงานที่ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปก่อนหน้านี้ประกอบด้วย 1.ให้เร่งเรื่องงบประมาณการลงทุน เพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนงบประมาณรายจ่ายดำเนิน การได้เร็วกว่าปีที่แล้ว 2.ไอเอ็มเอฟสนับสนุนการปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน และโครงสร้างภาษีสรรพสามิตของราคาน้ำมัน และ 3.ไอเอ็มเอฟบอกว่าสิ่งที่ไทยต้องปรับอีกเรื่องคือโครงสร้างภาษี ซึ่งตรงกับที่ไทยดำเนินการอยู่ ทั้งภาษีมรดก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับลดลง แต่ราคาอาหารจานเดียวไม่ปรับลดราคาลง หลังจากที่ปรับขึ้นราคาไปในช่วงรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่ประกาศปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งตนได้ออกมาเตือนรัฐบาลไปแล้วว่า ถ้ารัฐบาลประกาศผลีผลามปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ราคาอาหารจานเดียวจะปรับขึ้นไปแล้วไม่ยอมลง

“มาตรการคิวอี คือการเอาเงินเติมในระบบเศรษฐกิจของยุโรปจะทำเดือนละ 60,000 ล้านยูโร ไปตลอดเป็นเวลาอีกหลายเดือน เราก็ต้องเตรียมตัว ตื่นตัวตลอดเวลา ซึ่ง ธปท.ก็ตื่นตัวตลาดเวลา มันจะมาเป็นพักๆ อย่างสัปดาห์นี้ยังไม่เห็นมา แต่สัปดาห์ที่แล้ว มาเต็มที่ ธปท.ก็ต้องดูแลเป็นพักๆไป เรื่องนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ตอนที่สหรัฐฯ เติมเงินเข้าระบบเดือนละ 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นเวลาปีครึ่ง เราก็ดูแลตัวเองได้”

ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่เงินไหลเข้าแบบนี้จะทำให้ ธปท.ขาดทุนจนไม่สามารถชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้หรือไม่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน การชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ จะมีจังหวะที่ได้มั่ง ไม่ได้มั่ง อย่าไปพยายามทำสิ่งที่ไม่เป็นปัญหาแล้วถามให้เป็นปัญหา จุดที่สำคัญคือว่า ตอนที่เงินไหลออกช่วงที่ผ่านมา ธปท.ก็มีกำไรไว้รองรับตรงนี้แล้ว การที่ ธปท.กล้าขาดทุนเพื่อให้ผู้ส่งออกไม่กระทบ ถือเป็นการทำหน้าที่ของ ธปท. ถ้าจะเอาสบายแบบอยู่เฉยๆ มีก็กำไร ก็ไม่ต้องทำหน้าที่ อย่าไปคิดว่า หน่วยงานของรัฐวัดผลงานแบบเอกชน ถ้าวัดผลงานแบบเอกชน เอกชนก็ตาย ธปท.ก็ทำตัวแบบทอง ไม่รู้ร้อน หาก ธปท.จะขาดทุน ก็เป็นการขาดทุนในบัญชี ไม่เป็นไรหรอก มันไม่มีล้มอยู่แล้ว

“อุ๋ย” ชมแบงก์ชาติ คุมค่าบาทอยู่หมัด หลังผ่านประสบการณ์โชกโชนจากสหรัฐฯ ทำคิวอี มั่นใจคิวอียูโร จิ๊บ!! แม้จะขาดทุนก็ขอทำเพื่อชาติ กนง.เสียงเริ่มแตก 5 ต่อ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2% ลั่นใช้เกณฑ์คุมเงินทุนเคลื่อนย้ายแรงกว่าลดดอกเบี้ย

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงมาตรการรับมือเงินทุนไหลเข้าของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ต้องขอชม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าทำได้ดีมากในการรับมือกับเงินทุนต่างชาติที่เข้ามาในประเทศ ไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพราะตามปกติเมื่อมีเงินไหลเข้า จะมีเงินดอลลาร์ขายในตลาดมาก ค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นทันทีและมีผลกระทบผู้ส่งออกอย่างมาก แต่ ธปท.ทำอย่างไรไม่ทราบค่าเงินจึงไม่แข็งค่าขึ้น ซึ่งสิ่งที่บอกว่ามีเงินทุนไหลเข้ามามากคือ หุ้นขึ้น มาเกือบ 100 จุด เงินไหลเข้ามามากขนาดนี้แต่ ธปท.ยังดูแลให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่เดิมได้ จึงค่อนข้างสบายใจว่าคงจะไม่มีผลกระทบแล้ว อย่างไร ก็ตาม เท่าที่ติดตามสถานการณ์ยังไม่พบการเก็งกำไรที่ผิดปกติ

แหล่งที่มา  :  ไทยรัฐ

Source: “อุ๋ย” เมินขาดทุนลุยสู้ค่าเงิน กนง.คงดอกเบี้ยนโยบายไม่หวั่นคิวอียูโร